FBS ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16

ปลดล็อกของรางวัลวันเกิด: ตั้งแต่แก็ดเจ็ตและรถในฝันไปจนถึงทริป VIPเรียนรู้เพิ่มเติม
เปิดบัญชี
เปิดบัญชีล็อกอิน
เปิดบัญชี

18 พ.ค. 2023

กลยุทธ์

8 ตัวบ่งชี้ที่ใช้กันมากที่สุดในการเทรดแบบ Scalping

1.jpg

มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะคาดการณ์ได้อย่างถูกต้องว่าราคาจะเคลื่อนไหวต่อไปทิศทางไหน เทรดเดอร์จำนวนมากต่างสูญเสียเงินที่ได้มาอย่างยากลำบากเนื่องจากการแกว่งของตัวราคาที่คาดไม่ถึง บางคนก็เปลี่ยนเป็นกรอบเวลาที่เล็กลงแล้วหันไปใช้การเทรดแบบ Scalping เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาที่มีนัยสำคัญ

ในบทความนี้ คุณจะได้เรียนรู้ว่าการเทรดแบบ Scalping คืออะไร เทรดเดอร์ Scalper ใช้ตัวบ่งชี้ใด และวิธีการใช้ตัวบ่งชี้เหล่านี้ในกลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping

การเทรดแบบ Scalping คืออะไร?

การเทรดแบบ Scalping เป็นกลยุทธ์การเทรดรายวันระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับการทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ของราคา เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์นี้จะถูกเรียกว่าเทรดเดอร์ Scalper และเป้าหมายหลักของพวกเขาคือการสร้างรายได้จากคำสั่งซื้อขายที่ชนะน้อย ๆ จำนวนมากแทนคำสั่งซื้อขายใหญ่ ๆ และยาวนานไม่กี่คำสั่ง แต่ละคำสั่งซื้อขายจะใช้เวลาตั้งแต่ไม่กี่วินาทีถึงหนึ่งชั่วโมง และจำนวนคำสั่งซื้อขายที่เทรดเดอร์ Scalper เปิดภายในหนึ่งวันอาจมีตั้งแต่สิบไปจนถึงสองสามร้อยคำสั่ง ขึ้นอยู่กับว่าเทรดเดอร์ Scalper นั้นเทรดด้วยตนเองหรือใช้ซอฟต์แวร์การเทรดแบบอัตโนมัติ

สิ่งสำคัญที่ดึงดูดเทรดเดอร์ให้สนใจกลยุทธ์นี้คือการจับการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ ของราคาและทำกำไรจากมันนั้นทำได้ง่ายกว่ามาก การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ของราคานั้นเกิดขึ้นบ่อยมาก ๆ และเนื่องจากแต่ละคำสั่งซื้อขายจะใช้เวลาเพียงสั้น ๆ จึงมีความเสี่ยงน้อยลงอย่างมากที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ขัดแย้งที่อาจนำไปสู่การเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่พึงประสงค์

การเทรดแบบ Scalping ทำงานอย่างไร?

แม้ว่าการเทรดแบบ Scalping จะถูกมองว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่ากลยุทธ์การเทรดระยะยาว แต่มันจะทำงานได้ผลดีก็ต่อเมื่อเทรดเดอร์มีแผนการเทรดที่ชัดเจนและมีระเบียบวินัยที่เข้มงวด ดังนั้นมันจึงเหมาะกับเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์

ก่อนที่จะเปิดคำสั่งซื้อขาย เทรดเดอร์ Scalper จะต้องกำหนดจุดเข้า เป้าหมายกำไร และระดับตัดขาดทุน เมื่อทำเสร็จแล้ว การทำตามแผนนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ หากราคาถึงเป้าหมายกำไร เทรดเดอร์ Scalper จะปิดคำสั่งซื้อขายเสมอแม้ว่าจะมีโอกาสที่ราคาจะสูงขึ้นมากกว่านี้ก็ตาม ในทำนองเดียวกัน หากราคาแตะถึงระดับตัดขาดทุน พวกเขาจะปิดคำสั่งซื้อขายโดยไม่รอให้ราคาเด้งกลับ การทำเช่นนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเผชิญกับการเคลื่อนไหวของตลาดที่ไม่คาดคิดและไม่พึงประสงค์ และทำให้การเทรดแบบ Scalping มีความเสี่ยงน้อยกว่ากลยุทธ์การเทรดแบบอื่น ๆ

ในการวางแผนการเทรดให้ประสบความสำเร็จ เทรดเดอร์ Scalper จำเป็นต้องเข้าใจว่าตลาดมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวต่อไปในทิศทางใด ดังนั้นพวกเขาจึงใช้ตัวบ่งชี้การวิเคราะห์ทางเทคนิคจำนวนมาก ศึกษากราฟราคาระยะสั้น (1-5 นาที) เข้าใจจิตวิทยาของเทรดเดอร์ และการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของพวกเขาจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับสภาวะตลาด ณ ปัจจุบัน

ข้อดีและข้อเสียของการเทรดแบบ Scalping

เช่นเดียวกับรูปแบบการเทรดอื่น ๆ การเทรดแบบ Scalping ก็มีข้อดีและข้อเสียที่ทำให้เทรดเดอร์สนใจหรือหลีกเลี่ยงที่จะนำไปใช้งาน

ข้อดีของการเทรดแบบ Scalping นั้น มีดังนี้

  • ความเสี่ยงต่ำ เทรดเดอร์ Scalper จะทำกำไรจากการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ ของราคาที่เกิดขึ้นภายในกรอบเวลาที่เล็กที่สุด แม้ว่าราคาจะเคลื่อนไหวสวนทางกับเทรดเดอร์ แต่มันก็ไม่มีทางที่จะเคลื่อนไหวออกไปนอกเหนือระดับตัดขาดทุนที่วางเอาไว้เพื่อจำกัดการขาดทุนใด ๆ ที่เทรดเดอร์ Scalper อาจต้องเผชิญ

  • โอกาสในการทำกำไร หากเทรดเดอร์ Scalper ยึดมั่นทำตามแผนการเทรดของตนและเทรดสินทรัพย์เดียวด้วยปริมาณคำสั่งซื้อขายใหญ่ ๆ ไปเลย พวกเขาจะทำกำไรได้เยอะมากในตอนสิ้นวัน

  • ไม่จำเป็นต้องติดตามเรื่องปัจจัยพื้นฐาน การเทรดโดยใช้ปัจจัยพื้นฐานนั้นจะประกอบด้วยการติดตามข่าวสาร เหตุการณ์ และรายงานสถิติทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อมูลค่าของสินทรัพย์ เพื่อกำหนดเวลาที่ดีที่สุดในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเทรดเดอร์ Scalper จะทำกำไรจากความผันผวนเล็ก ๆ น้อย ๆ ของราคา พวกเขาจึงไม่จำเป็นต้องติดตามเรื่องปัจจัยพื้นฐาน เนื่องจากมันจะไม่ส่งผลกระทบต่อกรอบเวลาเล็ก ๆ

  • ใช้ได้ทั้งสองทิศทาง ด้วยการเทรดแบบ Scalping คุณสามารถเทรดได้ทั้งตลาดกระทิงและตลาดหมี ดังนั้นเทรดเดอร์ Scalper จึงมีโอกาสมากขึ้นในการทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคา

  • ทำให้เป็นอัตโนมัติได้ การเทรดแบบ Scalping ต้องการความแม่นยำและการกะจังหวะที่ดี เนื่องจากแม้แต่การหน่วงเวลาเพียงหนึ่งวินาทีก็อาจส่งผลกระทบต่อคำสั่งซื้อขายของคุณได้ โชคดีที่มันเป็นไปได้ที่จะใช้ซอฟต์แวร์การเทรดแบบอัตโนมัติเพื่อส่งคำสั่งซื้อขายเมื่อราคาถึงหนึ่งในเป้าหมาย และทำกำไรให้มากที่สุดจากแต่ละคำสั่งซื้อขาย

ส่วนข้อเสียบางอย่างที่เทรดเดอร์จะต้องพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจรวมกลยุทธ์นี้เข้ากับการเทรดของพวกเขา มีดังนี้

  • ต้องใช้ประสบการณ์และเวลาอย่างมาก แม้ว่าการเทรดแบบ Scalping อาจดูเหมือนง่าย แต่มันก็ยังเป็นกลยุทธ์การเทรดขั้นสูงที่ต้องมีความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับตลาดและการเคลื่อนไหวของมัน เทรดเดอร์มือใหม่อาจพบว่ามันยากมากที่จะปฏิบัติตามแผนการเทรดที่เข้มงวดและติดตามหลายคำสั่งซื้อขายเป็นเวลาหลายชั่วโมงทุกวัน ในทางกลับกัน เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์จะมีระเบียบวินัยที่ดีกว่า มีประสบการณ์มากกว่า และมีเงินทุนเพื่อให้ทันกับความเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของตลาด

  • ต้นทุนการทำธุรกรรม เช่นเดียวกับเทรดเดอร์ประเภทอื่น เทรดเดอร์ Scalper จะต้องจ่ายค่าคอมมิชชันหรือค่าสเปรดสำหรับทุกคำสั่งซื้อขายที่พวกเขาดำเนินการ เนื่องจากเทรดเดอร์ Scalper จะเปิดคำสั่งซื้อขายมากกว่าเทรดเดอร์ประเภทอื่น ต้นทุนจึงอาจสะสมและกัดกินกำไรที่พวกเขาได้จากคำสั่งซื้อขายเหล่านั้น

  • ปัญหาทางเทคนิค ดังที่เราได้กล่าวไปแล้ว แม้แต่ความล่าช้าเพียงหนึ่งวินาทีก็สามารถส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ของคำสั่งซื้อขายได้ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ใช่ว่าทุกความล่าช้าจะเป็นความผิดของเทรดเดอร์ ปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ปัญหาเกี่ยวกับแพลตฟอร์ม ฯลฯ อาจทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนและความล่าช้าในการดำเนินการ ทำให้คำสั่งซื้อขายที่เป็นกำไรในภาพรวมกลายเป็นความล้มเหลว สิ่งนี้สามารถบรรเทาได้โดยการใช้ซอฟต์แวร์การเทรดแบบอัตโนมัติและ VPS แต่เทรดเดอร์ที่ไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือเหล่านี้ได้ควรระมัดระวังเรื่องการเทรดแบบ Scalping

แปดตัวบ่งชี้การเทรดแบบ Scalping ที่ใช้กันบ่อยที่สุด

แม้ว่าเทรดเดอร์ Scalper อาจไม่จำเป็นต้องรู้ทิศทางระยะยาวของแนวโน้มตลาด แต่พวกเขาต้องเข้าใจว่าราคามีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใดเพื่อให้สามารถทำการตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด ซึ่งนี่จะเป็นเวลาที่ตัวบ่งชี้การวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นมีประโยชน์มากเป็นพิเศษ เนื่องจากเทรดเดอร์ Scalper สามารถนำมาใช้เพื่อคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตได้ และตอนนี้เราจะไปดูแปดตัวบ่งชี้ที่ถูกนำมาใช้ในการเทรดแบบ Scalping บ่อยที่สุดกัน

1. ตัวบ่งชี้ SMA

ตัวบ่งชี้ Simple Moving Average (SMA) เป็นหนึ่งในเครื่องมือพื้นฐานที่เทรดเดอร์ Scalper ใช้ในการระบุแนวโน้มและสร้างกลยุทธ์การเทรด มันจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับราคาเฉลี่ยของสินทรัพย์เฉพาะโดยการเพิ่มช่วงของราคาปิดและหารผลรวมด้วยจำนวนแท่งเทียนภายในช่วงนั้น สิ่งนี้จะช่วยให้เทรดเดอร์ Scalper เข้าใจว่าต้นทุนของสินทรัพย์นั้นกำลังขยับขึ้นหรือลง และแนวโน้มปัจจุบันอาจกลับตัวหรือไม่

2.png

2. Exponential Moving Average (EMA)

EMA เป็นอีกหนึ่งตัวบ่งชี้ที่ใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เช่นเดียวกับตัวบ่งชี้ SMA ที่มันจะวิเคราะห์ราคาของสินทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ตัวบ่งชี้ EMA จะมุ่งเน้นไปที่ราคาล่าสุดและสามารถให้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมแก่เทรดเดอร์ Scalper ได้ เทรดเดอร์ Scalper จะใช้ EMA เพื่อกำหนดแนวโน้มปัจจุบันและระบุจุดเข้าที่เป็นไปได้ หากราคาตัดข้ามขึ้นเหนือหรือลงใต้เส้น EMA มันจะสามารถส่งสัญญาณโอกาสในการซื้อหรือขายได้

3.png

3. ตัวบ่งชี้ MACD

ตัวบ่งชี้ถัดไปในรายการคือ Moving Average Convergence Divergence (MACD) มันเป็นตัวบ่งชี้แนวโน้มที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สองค่า การเคลื่อนไหวที่ตามมาของเส้นสองเส้นเมื่อพวกมันทับซ้อนกัน บรรจบกัน หรือแยกออกจากกันบ่งชี้ถึงโมเมนตัมปัจจุบัน ซึ่งจะให้สัญญาณซื้อหรือขายแก่เทรดเดอร์ เทรดเดอร์ Scalper จะใช้ตัวบ่งชี้นี้เพื่อค้นหาจุดเข้าหรือออกที่เป็นไปได้และระบุการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้ม

4.png

4. Parabolic SAR

Parabolic Stop And Reversal (Parabolic SAR) นั้นเป็นตัวบ่งชี้ที่เทรดเดอร์ใช้กันทั่วไปเพื่อรับข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคา Parabolic SAR จะปรากฏบนกราฟเป็นชุดของจุดไข่ปลาที่อยู่เหนือหรือใต้ราคา หากจุดไข่ปลาอยู่ใต้ราคา ราคาก็จะขยับขึ้น และในทำนองกลับกัน เมื่อจุดไข่ปลาเปลี่ยนตำแหน่ง เทรดเดอร์ควรคาดหวังการกลับตัวของแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้น ตัวบ่งชี้นี้มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเทรดเดอร์ Scalper เนื่องจากมันสามารถกำหนดโมเมนตัมระยะสั้นของการเคลื่อนไหวของราคาได้

5.png

5. Stochastic Oscillator

ตัวบ่งชี้การวิเคราะห์ทางเทคนิคถัดไปที่เทรดเดอร์ Scalper นำมาใช้คือ Stochastic Oscillator นี่คือตัวบ่งชี้โมเมนตัม และมันจะเปรียบเทียบราคาปิดของสินทรัพย์กับช่วงราคาของมันในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เป็นผลให้มันสามารถระบุภาวะตลาดที่มีการซื้อมากเกินไปหรือขายมากเกินไปที่สามารถส่งสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นได้

6.png

6. Volume-Weighted Average Price (VWAP)

Volume-Weighted Average Price (VWAP) เป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถกำหนดสภาพคล่องของสินทรัพย์และระบุระดับแนวรับและแนวต้านได้ VWAP นี้จะถูกนำมาใช้เพื่อคำนวณราคาเฉลี่ยของสินทรัพย์ตามปริมาณที่ซื้อในช่วงเวลาหนึ่ง ตัวบ่งชี้นี้เหมาะกับการเทรดระยะสั้นมากที่สุด ดังนั้นจึงมันจึงถูกนำมาใช้เป็นหลักในการเทรดแบบ Scalping และกลยุทธ์ระหว่างวันประเภทอื่น ๆ

โดยมันจะดีกว่าถ้าปฏิบัติตามกลยุทธ์การเทรดที่เกี่ยวข้องกับปริมาณผ่านบริการต่าง ๆ ที่ให้ข้อมูลปริมาณโดยรวม ดังนั้น รูปด้านล่างจะแสดงตัวบ่งชี้ VWAP บนเว็บไซต์ Trading View

7.png

7. Bollinger Bands

Bollinger Bands เป็นตัวบ่งชี้การเทรดแบบ Scalping ที่ประกอบด้วยเส้นสามเส้น: ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (เส้นกลาง) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสองเส้น (แถบบนและล่าง) ตัวบ่งชี้นี้สามารถช่วยให้เทรดเดอร์กำหนดระดับการซื้อมากเกินไปและการขายมากเกินไป และระบุแนวโน้มและการกลับตัวที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่เทรดเดอร์ Scalper ส่วนใหญ่จะใช้ตัวบ่งชี้นี้ในการค้นหาจุดเข้าและวัดความผันผวน เมื่อราคาแตะถึงแถบบนหรือแถบล่าง มันสามารถส่งสัญญาณการกลับตัวหรือความต่อเนื่องของแนวโน้มได้

8.png

8. Relative Strength Index (RSI)

Relative Strength Index (RSI) เป็นตัวบ่งชี้ออสซิลเลเตอร์ที่ระบุความแข็งแกร่งของการเคลื่อนไหวของราคาโดยการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาและความเร็วที่เกิดขึ้น เทรดเดอร์ Scalper จะใช้ตัวบ่งชี้นี้เพื่อระบุระดับซื้อมากเกินไปและขายมากเกินไปที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งสามารถส่งสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มที่เป็นไปได้

9.png

กลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping ที่ดีที่สุด

เพื่อให้เชี่ยวชาญในการเทรดแบบ Scalping คุณต้องพัฒนากลยุทธ์การเทรดที่เชื่อถือได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณได้รับผลกำไรสูงสุดจากคำสั่งซื้อขายทั้งหมดของคุณ นี่คือสามกลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping ที่เทรดเดอร์ Scalper ทั่วโลกใช้งานกัน

กลยุทธ์ Moving Average Ribbon

กลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping นี้เกี่ยวข้องกับการใช้หลายเส้น EMA กับกรอบเวลาที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์ Scalper โดยทั่วไปจะใช้ EMA-10, EMA-20, EMA-50 และ EMA-100 จากนั้นเส้น EMA ทั้งหลายจะถูกขีดลงบนกราฟในรูปแบบคล้ายแถบริบบิ้นที่วิ่งขนานกัน แถบริบบิ้นนี้สามารถใช้ในการระบุทิศทางและโมเมนตัมของแนวโน้มได้ แถบริบบิ้นที่ "เรียบ" จะบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่แข็งแกร่ง ซึ่งหมายความว่าเทรดเดอร์ Scalper สามารถเปิดตำแหน่งซื้อหรือขายได้

ควรวางจุด Stop Loss ไว้ใต้จุดแกว่งตัวต่ำสุดล่าสุด (สำหรับคำสั่งซื้อ) หรือเหนือจุดแกว่งตัวสูงสุดก่อนหน้า (สำหรับคำสั่งขาย) เมื่อราคาแตะเส้น EMA-200 อีกครั้ง ก็ได้เวลาปิดคำสั่งซื้อขายและเก็บกำไร

10.png

กลยุทธ์ Bollinger Bands

กลยุทธ์นี้จะใช้ประโยชน์ของตัวบ่งชี้ Bollinger Bands อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่ามันประกอบด้วยเส้นสามเส้น คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสองเส้น และเส้น SMA ที่อยู่ระหว่างเส้นทั้งสองดังกล่าว หากราคาตัดข้ามหนึ่งในแถบนอก นั่นแสดงว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการกลับตัวหรือเกิดความต่อเนื่องของแนวโน้มในครั้งต่อไป

ควรวางจุด Stop Loss ไว้ใต้จุดต่ำสุดล่าสุด (สำหรับคำสั่งซื้อ) หรือเหนือจุดสูงสุดก่อนหน้า (สำหรับคำสั่งขาย) เทรดเดอร์ Scalper สามารถเปิดคำสั่งซื้อขายได้เมื่อราคาตัดข้ามหนึ่งในแถบนอกและปิดคำสั่งซื้อขายเมื่อมันกลับมาที่ SMA

11.png

กลยุทธ์ MACD + EMA

ในกลยุทธ์นี้ เทรดเดอร์ Scalper จะใช้ตัวบ่งชี้ MACD และ EMA (เช่น EMA-200) เพื่อกำหนดทิศทางและโมเมนตัมของแนวโน้ม หากเส้น MACD พุ่งสูงขึ้นเหนือระดับศูนย์ในขณะที่เส้น EMA อยู่ต่ำกว่าราคาจะทำให้เกิดสัญญาณซื้อ ขณะเดียวกัน หากเส้น MACD ร่วงลงต่ำกว่าระดับศูนย์โดยที่เส้น EMA อยู่เหนือราคา เทรดเดอร์ Scalper ควรเตรียมเปิดตำแหน่งขาย เมื่อ MACD เลื่อนลงต่ำกว่าเส้นสัญญาณ ก็ถึงเวลาปิดคำสั่งซื้อขาย

12.png

สรุป

การเทรดแบบ Scalping ต้องการความอดทน ระเบียบวินัย และเวลาอย่างมากจากเทรดเดอร์ หากคุณต้องการเริ่มเทรดแบบ Scalping คุณจะต้องสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและรู้วิธีการใช้งานตัวบ่งชี้ต่าง ๆ ด้วยกลยุทธ์และกรอบความคิดที่ถูกต้อง คุณจะกลายเป็นเทรดเดอร์ Scalper ที่ประสบความสำเร็จและทำกำไรได้เป็นจำนวนมากจากสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงที่สุด

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ:

เปิดบัญชี FBS

โดยการลงทะเบียน คุณได้ยอมรับเงื่อนไขของ ข้อตกลงลูกค้า FBS และ นโยบายความเป็นส่วนตัว FBS และยอมรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขายในตลาดการเงินระดับโลก

FBS ณ สื่อสังคมออนไลน์

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon

ติดต่อเรา

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon
store iconstore icon
ดาวน์โหลดได้ที่
App Store
store iconstore icon
ดาวน์โหลดได้ที่
Google Play

การซื้อขาย

บริษัท

เกี่ยวกับ FBS

เอกสารทางกฎหมาย

ข่าวเกี่ยวกับบริษัท

สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้

ศูนย์ช่วยเหลือ

โปรแกรมพันธมิตร

เว็บไซต์นี้ดำเนินการโดย FBS Markets Inc. หมายเลขจดทะเบียน 000001317 ซึ่ง FBS Markets Inc. ได้รับการจดทะเบียนโดย Financial Services Commission ภายใต้พระราชบัญญัติอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ฯ 2021 (Securities Industry Act 2021) ใบอนุญาตเลขที่ 000102/31 ที่อยู่สำนักงาน: 9725, Fabers Road Extension, Unit 1, Belize City, Belize

โดย FBS Markets Inc. ไม่ได้ให้บริการทางการเงินแก่ผู้อยู่อาศัยในเขตอำนาจศาลบางแห่ง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง: สหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรป, สหราชอาณาจักร, อิสราเอล, สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน, เมียนมาร์

ธุรกรรมการชำระเงินได้รับการจัดการโดย HDC Technologies Ltd.; Registration No. HE 370778; Legal address: Arch. Makariou III & Vyronos, P. Lordos Center, Block B, Office 203, Limassol, Cyprus ที่อยู่เพิ่มเติม: Office 267, Irene Court, Corner Rigenas and 28th October street, Agia Triada, 3035, Limassol, Cyprus

เบอร์ติดต่อ: +357 22 010970 เบอร์ติดต่อเพิ่มเติม: +501 611 0594

สำหรับความร่วมมือ กรุณาติดต่อเราผ่าน [email protected]

คำเตือนเรื่องความเสี่ยง: ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการซื้อขาย คุณควรเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตลาดสกุลเงินและการซื้อขายโดยใช้มาร์จิ้นอย่างถ่องแท้ และคุณควรตระหนักถึงระดับประสบการณ์ของตนเอง

การคัดลอก การทำสำเนา การเผยแพร่ รวมถึงแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตของเนื้อหาใดๆ จากเว็บไซต์นี้สามารถดำเนินการได้เฉพาะเมื่อได้รับการอนุญาตที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน การชี้แนะ หรือการชักชวนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการลงทุนใด ๆ ทั้งสิ้น