FBS ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16

ปลดล็อกของรางวัลวันเกิด: ตั้งแต่แก็ดเจ็ตและรถในฝันไปจนถึงทริป VIPเรียนรู้เพิ่มเติม
เปิดบัญชี
เปิดบัญชีล็อกอิน
เปิดบัญชี

14 ส.ค. 2024

กลยุทธ์

เพิ่มศักยภาพการเทรดของคุณให้เต็มพิกัดด้วยเลเวอเรจที่สูงขึ้นบนดัชนี

MDP-4596_1_cover.png

FBS รู้สึกตื่นเต้นที่จะแจ้งให้ทราบว่าเราได้เพิ่มเลเวอเรจบนดัชนีเป็น 1:500 สิ่งนี้หมายความว่า คุณจะสามารถใช้ประโยชน์จากความผันผวนของตลาดที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่ และเสริมพลังให้กับกลยุทธ์การซื้อขายของคุณ

เหตุใดจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจกับตลาดหุ้น?

มีหลายปัจจัยสำคัญที่กำลังจะมาถึง เช่น เหตุการณ์ September Effect การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของสหรัฐฯ และการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้ตลาดหุ้นเกิดการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญ โดยการเข้าใจสิ่งมีอิทธิพลเหล่านี้ คุณจะสามารถลับคมกลยุทธ์การซื้อขายของคุณในช่วงเวลาสำคัญนี้ได้ ในบทความต่อไปนี้ เราจะมาเจาะลึกถึงแต่ละปัจจัยกัน

เหตุการณ์ September Effect

เหตุการณ์ September Effect หมายถึงผลตอบแทนตลาดหุ้นที่อ่อนแอเป็นประวัติการณ์ที่สังเกตได้ในช่วงเดือนกันยายน โดยเฉลี่ยแล่วเดือนกันยายนถือเป็นเดือนที่มีความผันผวนมากที่สุดของตลาดหุ้นและดัชนี US500

ตั้งแต่ปี 1950 เดือนกันยายนถือเป็นเดือนที่เลวร้ายที่สุดขิง US30 US100 และ US500 เดือนกันยายนได้ล้มเหลว 4 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 1999 ถึง 2002 หลัง 4 ปีที่มีความเสถียรตั้งแต่ปี 1995 ถึง 1998 ในช่วงที่เกิดภาวะฟองสบู่ดอตคอม

แต่สิ่งที่น่าสังเกตก็คือเหตุการณ์ September Effect นั้นมีพื้นฐานมาจากข้อมูลทางสถิติในระยะยาวมากกว่า 100 ปี มากกว่าที่จะเป็นทฤษฎีหรือตัวชี้วัดทางการเงินที่แท้จริงใด ๆ นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมนักลงทุนบางส่วนจึงไม่ถือว่าปรากฏการณ์นี้เป็นเรื่องที่จริงจัง แถมยังเอามาล้อเลียนเล่น ๆ หน้าตาเฉย

MDP-4596_2_TH.png
ดัชนีต่าง ๆ โดยเฉลี่ยจะปรับตัวลงในเดือนกันยายน

มีหลากหลายทฤษฎีเกี่ยวกับเหตุการณ์ September Effect และมีการถกเถียงมากมายเกี่ยวกับสาเหตุของปรากฏการณ์นี้ มาสำรวจมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้และทำการวิเคราะห์แบบเจาะลึกกันดีกว่า

  1. หนึ่งในคำอธิบายที่พบบ่อยที่สุดก็คือว่าเหตุการณ์ September Effect นั้นเป็นเพียงแนวโน้มตามฤดูกาล ในอดีต หลายเดือนในช่วงฤดูร้อนมักจะเป็นช่วงที่ตลาดซบเซา เนื่องจากนักลงทุนจะออกไปพักร้อนซึ่งทำให้ปริมาณการซื้อขายลดลง แต่พอฤดูใบไม้ร่วงใกล้เข้ามาและผู้คนกลับมาทำงานตามปกติ ปริมาณการซื้อขายก็เพิ่มขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้ความผันผวนเพิ่มขึ้นตามมา ยิ่งไปกว่านั้น หลายบริษัทต่างเปิดเผยรายงานผลประกอบการรายไตรมาสในเดือนกันยายน ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาหุ้นเกิดความผันผวน

  2. อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าว่าเหตุการณ์ September Effect เป็นเรื่องของจิตวิทยาของนักลงทุนมากกว่าที่จะเป็นเรื่องอื่น เมื่อฤดูร้อนสิ้นสุดลง ผู้คนจำนวนหนึ่งก็มีแนวโน้มที่จะรู้สึกวิตกกังวลและซึมเศร้า ซึ่งอาจนำไปสู่ความรู้สึกเชิงลบเกี่ยวกับตลาดได้

  3. เดือนกันยายนมักเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนทางการเมือง ในสหรัฐฯ ถือเป็นวันสิ้นสุดปีงบประมาณของรัฐบาลกลาง ซึ่งก่อให้เกิดการถกเถียงเรื่องงบประมาณและภาษี นอกจากนี้ หลายประเทศจะมีการเลือกตั้งในฤดูใบไม้ร่วง ทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและตลาด

  4. มุมมองสุดท้ายคือนักวิเคราะห์บางคนจะเชื่อมโยงเหตุการณ์ September Effect กับการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย ตลาดหุ้นอาจได้รับผลกระทบเนื่องจากธนาคารกลาง เช่น ธนาคารกลางสหรัฐ จะปรับอัตราดอกเบี้ย

ความผันผวนในเดือนกันยายนมักนำไปสู่ความเคลื่อนไหวของตลาดที่มีความโดดเด่น และด้วยเลเวอเรจที่เพิ่มขึ้น คุณจะสามารถวางตำแหน่งตัวเองได้ดีขึ้นเพื่อทำกำไรจากความผันผวนเหล่านี้

NFP และ การประชุมของ FOMC

MDP-4596_3_TH.png
อัตราดอกเบี้ยในสหรัฐอเมริกา

การประชุมของ FOMC เมื่อสัปดาห์ที่แล้วส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดอย่างมีนัยสำคัญและดัชนี US500 ก็พุ่งสูงขึ้นเนื่องมาจากสัญญาณของ Powel ที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน

MDP-4596_4_TH.png
ประวัติ NFP ของสหรัฐอเมริกา

การประกาศตัวเลข NFP ของวันศุกร์ได้ออกมาแย่กว่าที่คาดไว้ โดยเน้นย้ำถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ของเฟดต่างเห็นพ้องต้องกันที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลักในเดือนกันยายน สิ่งนี้ทำให้ตลาดหุ้นตกต่ำ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในพลวัตของตลาด ซึ่งจะเปิดโอกาสในการซื้อขายอันมีค่า

เป็นที่ทราบกันดีว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้แตะถึงเพดานแล้ว คำถามสำคัญในขณะนี้คือธนาคารจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด ธนาคารกลางสหรัฐจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางการเงินในตอนที่เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนและนักเศรษฐศาสตร์จะมองอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงว่าเป็นตัวเร่งการเติบโต ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการกู้ยืมของบุคคลและองค์กร สิ่งนี้จะนำไปสู่ผลกำไรที่สูงขึ้นและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

ผู้บริโภคจะใช้จ่ายมากขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจะทำให้พวกเขารู้สึกว่าบางทีพวกเขาอาจสามารถซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้มากขึ้น บริษัทต่าง ๆ สามารถจัดหาเงินทุนสำหรับการดำเนินกิจการ การเข้าซื้อกิจการ และการขยายตัวได้ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลประกอบการ สิ่งนี้จะทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นในที่สุด

MDP-4596_5.png
ราคาหุ้น JP225 ปรับตัวลง 18% หลังการประกาศ NFP ของสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม การปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็ไม่ได้นำไปสู่ผลลัพธ์เชิงบวกเสมอไป เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2007 ก่อนเกิดวิกฤตการเงินในปี 2008 และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2019 ที่นำไปสู่วิกฤตตลาดในปี 2020 อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน การกระทำเหล่านี้ได้ถล่มดัชนีของเอเชียและสหรัฐฯ ตัวอย่างเช่น JP225 ได้ปรับตัวลง 12% ในช่วงเปิดตลาดในวันจันทร์ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถใช้ประโยชน์จากทั้งตลาดขาขึ้นและขาลงได้ที่ FBS เนื่องจากความผันผวนสูงจะนำมาซึ่งโอกาสในการซื้อขายอย่างเหลือเฟือ

การเลือกตั้งของสหรัฐฯ

MDP-4596_6_TH.png
ตลาดหุ้นกลับมาคึกคักช่วงเลือกตั้ง

ในอดีต ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักเกิดความผันผวนอย่างรุนแรงในระหว่างการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

MDP-4596_7_TH.png
US100 ในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2020

ในการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดในปี 2020 ดัชนี Nasdaq (US100) ได้เกิดความผันผวนอย่างรุนแรงและเคลื่อนไหวในแนวข้างก่อนวันเลือกตั้ง แต่หลังการเลือกตั้ง ตลาดก็ได้เป็นแนวโน้มขาขึ้น

การวิจัยแสดงให้เห็นว่านับตั้งแต่ปี 1950 ผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นสหรัฐฯ ในช่วงปีเลือกตั้งนั้นได้อยู่ที่ 9.1% สภาวะตลาดหุ้นเฉลี่ยในอดีตในช่วง 12 เดือนระหว่างการเลือกตั้งจะเผยให้เห็นสิ่งต่อไปนี้:

  • ในปีแรกหลังการเลือกตั้ง ผลตอบแทนของ US500 จะอยู่ที่ 8.3% โดยเฉลี่ย

  • ในปีที่ 2 จะอยู่ที่ 3.4%

  • ในปีที่ 3 จะอยู่ที่ 14.7%

  • และในปีที่ 4 จะอยู่ที่ 9.1%

ปีนี้ โลกกำลังจับตามองการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 28 พฤศจิกายน อย่างใกล้ชิด ด้วยเวลาที่เหลืออีกสามเดือน ข่าวคราวจะเต็มไปด้วยอัปเดตต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตลาดจะตอบสนองต่อข้อมูลนี้ เช่น หลังจากความพยายามลอบสังหารอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ ตลาดได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญก่อนที่จะกลับมาทรงตัวในอีกไม่กี่วันต่อมา

นอกจากนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่าตลาดจะชอบรัฐบาลชุดใหม่ของทรัมป์ที่จะมาทำงานต่อจากรัฐบาลของไบเดน หรือรัฐบาลชุดอื่นที่นำโดยพรรคเดโมแครตมากกว่ากัน ซึ่งดูเหมือนว่าตลาดน่าจะยังไม่มีความโน้มเอียงที่ชัดเจน

ปฏิกิริยาในตลาดอัตราดอกเบี้ยยังคงเงียบอยู่ การถอนตัวของไบเดนได้ส่งผลกระทบอย่างจำกัดต่อตลาดอัตราดอกเบี้ย โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงในผลตอบแทนเพียงเล็กน้อย

Jay Barry ซึ่งเป็นผู้นำร่วมของ กลยุทธ์ดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่ J.P. Morgan ได้สังเกตเห็นว่าตลาดมองว่านี่เป็นการแข่งขันที่เข้มข้นมาก ๆ โดยรวมแล้ว ความคาดหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดจะยังคงผลักดันตลาดอัตราดอกเบี้ยต่อไป

สรุป

เหตุการณ์ September effect ที่จะถึงนี้ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของสหรัฐฯ และการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี อาจกระตุ้นให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เกิดการเคลื่อนไหวที่รุนแรง การรับรู้ถึงผลกระทบของเหตุการณ์ September effect และผลกระทบในอดีตที่มีต่อตลาดจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถคาดการณ์และเตรียมพร้อมรับมือกับความเคลื่อนไหวที่อาจเกิดขึ้นของตลาดได้ การทำความเข้าใจความผันผวนของปีเลือกตั้งและการติดตามตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่หารือกันในระหว่างการประชุม FOMC จะช่วยให้มีข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเพื่อการตัดสินใจซื้อขายอย่างมีข้อมูล

สรุปแล้ว โดยการทำความเข้าใจปัจจัยเหล่านี้ เทรดเดอร์จะสามารถสร้างกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดขึ้น จัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และอาจเพิ่มผลกำไรในสภาวะตลาดที่มีความผันผวนได้ นอกจากนี้ ด้วยอัตราเลเวอเรจที่สูงขึ้นถึง 1:500 ในดัชนี เทรดเดอร์จะมีพันธมิตรที่แข็งแกร่งที่คอยสนับสนุนพวกเขาในการเดินทางครั้งนี้

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ:

เปิดบัญชี FBS

โดยการลงทะเบียน คุณได้ยอมรับเงื่อนไขของ ข้อตกลงลูกค้า FBS และ นโยบายความเป็นส่วนตัว FBS และยอมรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขายในตลาดการเงินระดับโลก

FBS ณ สื่อสังคมออนไลน์

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon

ติดต่อเรา

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon
store iconstore icon
ดาวน์โหลดได้ที่
App Store
store iconstore icon
ดาวน์โหลดได้ที่
Google Play

การซื้อขาย

บริษัท

เกี่ยวกับ FBS

เอกสารทางกฎหมาย

ข่าวเกี่ยวกับบริษัท

สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้

ศูนย์ช่วยเหลือ

โปรแกรมพันธมิตร

เว็บไซต์นี้ดำเนินการโดย FBS Markets Inc. หมายเลขจดทะเบียน 000001317 ซึ่ง FBS Markets Inc. ได้รับการจดทะเบียนโดย Financial Services Commission ภายใต้พระราชบัญญัติอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ฯ 2021 (Securities Industry Act 2021) ใบอนุญาตเลขที่ 000102/31 ที่อยู่สำนักงาน: 9725, Fabers Road Extension, Unit 1, Belize City, Belize

โดย FBS Markets Inc. ไม่ได้ให้บริการทางการเงินแก่ผู้อยู่อาศัยในเขตอำนาจศาลบางแห่ง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง: สหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรป, สหราชอาณาจักร, อิสราเอล, สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน, เมียนมาร์

ธุรกรรมการชำระเงินได้รับการจัดการโดย HDC Technologies Ltd.; Registration No. HE 370778; Legal address: Arch. Makariou III & Vyronos, P. Lordos Center, Block B, Office 203, Limassol, Cyprus ที่อยู่เพิ่มเติม: Office 267, Irene Court, Corner Rigenas and 28th October street, Agia Triada, 3035, Limassol, Cyprus

เบอร์ติดต่อ: +357 22 010970 เบอร์ติดต่อเพิ่มเติม: +501 611 0594

สำหรับความร่วมมือ กรุณาติดต่อเราผ่าน [email protected]

คำเตือนเรื่องความเสี่ยง: ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการซื้อขาย คุณควรเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตลาดสกุลเงินและการซื้อขายโดยใช้มาร์จิ้นอย่างถ่องแท้ และคุณควรตระหนักถึงระดับประสบการณ์ของตนเอง

การคัดลอก การทำสำเนา การเผยแพร่ รวมถึงแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตของเนื้อหาใดๆ จากเว็บไซต์นี้สามารถดำเนินการได้เฉพาะเมื่อได้รับการอนุญาตที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน การชี้แนะ หรือการชักชวนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการลงทุนใด ๆ ทั้งสิ้น