FBS ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16

ปลดล็อกของรางวัลวันเกิด: ตั้งแต่แก็ดเจ็ตและรถในฝันไปจนถึงทริป VIPเรียนรู้เพิ่มเติม
เปิดบัญชี
เปิดบัญชีล็อกอิน
เปิดบัญชี

13 ก.ย. 2024

พื้นฐาน

GDP คืออะไร? ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญต่อนักลงทุน

MDP-5096_1_EN.png

บทนำ

มีมาตรวัดอยู่หลายแบบที่ใช้ในการวัดสภาพเศรษฐกิจของประเทศ และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศก็เป็นหนึ่งในมาตรวัดที่สำคัญที่สุด โดยมันจะให้ข้อมูลสำคัญแก่นักธุรกิจและนักลงทุนเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโดยทั่วไปของเศรษฐกิจโดยรวม และช่วยให้พวกเขาสามารถประเมินผลกระทบที่มีต่อตลาดการเงินได้ดีขึ้น ว่าแต่ GDP คืออะไรเหรอ?

GDP คืออะไร?

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ GDP เป็นตัวชี้วัดหลักตัวหนึ่งซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ และมีความสำคัญต่อผู้เข้าร่วมในตลาดการเงิน GDP คือผลรวมของบริการและสินค้าสำเร็จรูปทั้งหมดที่ผลิตภายในประเทศในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมักจะถูกแสดงเป็นรายไตรมาสหรือรายปี

สูตรการคำนวณ

การคำนวณ GDP ถือเป็นหัวใจสำคัญของทุกการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีสูตรการคำนวณดังนี้:

GDP = C+I+G+(X−M)

  • C — การบริโภคหรือการใช้จ่ายของผู้บริโภค

  • I — การลงทุน (ธุรกิจและบุคคล)

  • G — รายจ่ายโดยรวมของรัฐบาล

  • X — การส่งออกบริการและสินค้า

  • M — การนำเข้าบริการและสินค้า

3 วิธีในการวัด GDP

แต่ละวิธีการวัดจะให้มุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจ แต่ในทางทฤษฎีแล้ว ทั้งสามวิธีนี้ควรจะได้ตัวเลข GDP ที่แน่นอน

  1. การวัดด้านรายจ่าย: วิธีนี้ได้มาจากการบวกยอดการใช้จ่ายทั้งหมดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศ ตามที่อธิบายไว้ข้างต้น นี่เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งมีประโยชน์ในวิเคราะห์การสนับสนุนจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม

  2. การวัดด้านรายได้: วิธีการวัด GDP นี้จะคำนวณรายได้ทั้งหมดที่ได้รับจากการผลิตบริการและสินค้า รวมถึงค่าจ้าง กำไร และรายได้ภาษี โดยวิธีการวัดนี้จะมองว่า GDP เป็นสิ่งที่สร้างรายได้ ซึ่งทำให้มันเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับการค้นหาว่าผลผลิตของเศรษฐกิจจำนวนเท่าใดที่ถูกจ่ายให้กับคนงานและเจ้าของทุนไปจริง ๆ

  3. การวัดด้านการผลิต (ผลผลิต): วิธีนี้จะเกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าเพิ่มในแต่ละขั้นตอนการผลิต โดยจะวัดจำนวนผลผลิตในแต่ละภาคส่วนของเศรษฐกิจแล้วลบด้วยต้นทุนสินค้าขั้นกลางออกไปเพื่อหลีกเลี่ยงการนับซ้ำ มันมักจะถูกนำมาใช้เพื่อให้ได้มุมมองของเศรษฐกิจจากมุมมองของอุตสาหกรรม เช่น การมีส่วนร่วมของภาคเกษตรกรรม การผลิต หรือการบริการ

GDP ประกอบด้วยรายจ่ายอะไรบ้าง?

GDP ที่ได้จากการวัดด้านรายจ่ายจะประกอบด้วยสี่ส่วนประกอบหลัก ๆ ได้แก่ การใช้จ่ายของรัฐบาล การลงทุน การบริโภค และการส่งออกสุทธิ

MDP-5096_2_EN.png
  • การบริโภค (C): นี่คือส่วนที่ใหญ่ที่สุดของ GDP ซึ่งประกอบด้วยรายจ่ายของครัวเรือนในการซื้อสินค้าและบริการ ระดับการบริโภคที่สูงจะบ่งบอกถึงความมั่นใจของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับสูง และด้วยเหตุนี้เศรษฐกิจจึงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น

  • การลงทุน (I): การลงทุนของธุรกิจในโรงงานและอุปกรณ์ ซึ่งจะให้สัญญาณการเติบโตในอนาคตของเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นทางธุรกิจ

  • การใช้จ่ายของรัฐบาล (G): การใช้จ่ายใด ๆ ของรัฐบาลในบริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐาน การใช้จ่ายมากเกินไปมักเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดดุลงบประมาณได้

  • การส่งออกสุทธิ (X—M): การส่งออกสุทธิที่เป็นบวกจะทำให้ GDP เพิ่มขึ้น ซึ่งบ่งชี้ว่าสินค้าของประเทศนั้น ๆ เป็นที่ต้องการสูงมากในตลาดโลก ในทางกลับกัน หากประเทศใช้จ่ายเงินเพื่อการนำเข้ามากกว่าการส่งออก ตัวแปรนี้ของสมการจะทำให้ GDP ของประเทศนั้นลดลง

เหตุใดการส่งออกสุทธิจึงถูกเขียนว่า X−M

X-M ในการคำนวณหา GDP นั้นหมายถึงการส่งออกสุทธิ ซึ่งก็คือส่วนต่างระหว่างการส่งออกทั้งหมดและการนำเข้าทั้งหมดของประเทศ สิ่งนี้จะช่วยวิเคราะห์ดุลการค้า และผลกระทบสุทธิต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของประเทศอันเกิดจากการค้าของประเทศนั้น ๆ กับประเทศอื่น ๆ ในโลก

หาก X−M แล้วเป็นค่าบวก GDP ของประเทศก็จะสะท้อนสิ่งนั้น X–M ที่เป็นค่าบวกจะนำไปสู่เศรษฐกิจที่มีการแข่งขัน ซึ่งหมายถึงส่วนอื่น ๆ ของโลกจะมีแนวโน้มต้องการสินค้าและบริการที่สูงขึ้นมาก

ในทางตรงกันข้าม หาก X−M มีค่าเป็นลบเนื่องจากการนำเข้าสูงกว่าการส่งออก ค่านี้ก็จะถูกหักออกจาก GDP สิ่งนี่อาจเป็นผลจากการพึ่งพาสินค้าและการบริการจากต่างประเทศ และการขาดดุลจะทวีคูณขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในระยะยาว

ตัวเลข GDP ที่เป็นบวก / เป็นลบ

ตัวเลข GDP ที่เป็นบวกและเป็นลบต่างก็มีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงิน อัตราการเติบโตของ GDP ที่เป็นบวกมักพบเห็นได้บ่อยในประเทศกำลังพัฒนาที่มีความแข็งแกร่ง นั่นเป็นเพราะบริษัทต่าง ๆ ผลิตสินค้าและบริการมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น ทั้งหมดนี้มีแนวโน้มที่จะช่วยสนับสนุนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจ นักลงทุนในตลาดหุ้นมักเชื่อมโยงการเติบโตของ GDP ที่เป็นบวกกับการคาดหวังว่าผลประกอบการจะเพิ่มสูงขึ้นและโอกาสในการเติบโตที่เป็นไปได้

ตัวอย่างเช่น การเผยตัวเลข GDP ของสหรัฐฯ ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2024 ได้ออกมาสูงกว่าที่คาดไว้ที่ 0.8% ซึ่งส่งผลให้ดัชนี US500 ปรับตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในระหว่างวัน

MDP-5096_3_EN.png

ในทางกลับกัน อัตราการเติบโตของ GDP ที่เป็นลบจะสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย มันอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่การบริโภคที่ลดลงไปจนถึงการลงทุนหรือการส่งออกที่ลดลง อัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น รายได้ที่ลดลง และผลกำไรของธุรกิจที่ลดลง มักเกี่ยวข้องกับการเติบโตของ GDP ที่เป็นลบและสภาวะตลาดที่เสื่อมถอย

วิธีการใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

การประเมินสภาพเศรษฐกิจ: GDP เป็นหนึ่งในมาตรวัดที่ครอบคลุมที่สุดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ นักลงทุนมองว่ามันเป็นหนึ่งในดัชนีที่น่าสังเกตในการตรวจสอบว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโตหรือหดตัว การเติบโตของ GDP มักบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังแข็งแกร่งขึ้น ความเชื่อมั่นของนักลงทุนกำลังเพิ่มขึ้น และราคาหุ้นก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น

จังหวะในการเข้าและออกจากตลาด: ส่วนใหญ่แล้ว ทางเลือกของเทรดเดอร์ว่าจะเข้าหรือออกจากตลาดเมื่อใดจะถูกกำหนดโดยแนวโน้มของ GDP GDP เป็นตัวชี้วัดที่ประเมินผลในสิ่งที่ผ่านมาแล้วและมีแนวโน้มที่จะยืนยันสภาพเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ตาม มันก็ยังคงช่วยสนับสนุนเทรดเดอร์ในการตัดสินใจว่าพวกเขาควรเข้าหรือออกจากตลาดอย่างไร

ข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมต่าง ๆ: สามารถวิเคราะห์ส่วนประกอบของ GDP บางส่วนได้ผ่านการวิเคราะห์ที่รวมเอาการลงทุนและการบริโภคเข้ามาด้วย นั่นหมายความว่า คุณจะสามารถระบุได้ว่าอุตสาหกรรมใดที่ยังคงเป็นแรงผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ผลกระทบต่อสกุลเงินและพันธบัตร: การเติบโตของ GDP อาจเป็นแรงผลักดันหลักต่อมูลค่าของสกุลเงินและแม้กระทั่งตลาดพันธบัตร ระดับ GDP ที่สูงขึ้นอาจทำให้สกุลเงินแข็งค่าขึ้น และในกระบวนการนี้ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจส่งผลต่อกลยุทธ์การลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์และตลาดตราสารหนี้

ข้อเสียของ GDP

แม้ว่า GDP จะเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจหลัก แต่มันก็ยังมีข้อจำกัดอย่างมาก โดย GDP จะไม่คำนึงถึงความไม่เท่าเทียมกันของรายรับ แต่มันก็ยังคงสามารถสะท้อนการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ แม้ว่าความมั่งคั่งทั้งหมดจะกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนเพียงไม่กี่คนก็ตาม นี่เป็นหนึ่งในเรื่องที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสภาพโดยทั่วไปของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ GDP ก็ยังไม่พิจารณากิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กิจกรรมตลาด ซึ่งได้แก่ งานในบ้านและงานอาสาสมัคร ซึ่งมีส่วนสนับสนุนในการพัฒนาสังคมเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ ตัวบ่งชี้ไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการผลิตทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจประเมินประโยชน์เกินจริง และสุดท้าย GDP จะสะท้อนถึงผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจในอดีตเป็นตัวชี้วัดที่ประเมินผลในสิ่งที่ผ่านมาแล้ว แถมยังมีค่าทำนายที่จำกัดสำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต

GDP กับดัชนี SET เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

ความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง GDP และดัชนีหุ้นโดยเฉพาะ SET (ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อนักลงทุน GDP แสดงถึงสถานะเศรษฐกิจโดยทั่วไปของประเทศ และการเติบโตของ GDP จะแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองโดยทั่วไปของธุรกิจ ซึ่งส่งผลให้รายได้ขององค์กรเพิ่มขึ้นในที่สุด

สำหรับประเทศไทย อัตราการเติบโตของ GDP ที่สูงจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อดัชนี SET เนื่องจากดัชนีเหล่านี้จะบ่งชี้ถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผลประกอบการทางธุรกิจที่ดี และการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่มั่นคง ในทางกลับกัน สถานประกอบการจะลดลงเมื่อการเติบโตของ GDP เริ่มลดลงหรือหดตัว เนื่องจากตัวบ่งชี้ที่เป็นลบอาจเป็นสัญญาณของปัญหาเศรษฐกิจ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับผลกำไรและเงินทุนจากนักลงทุน-ผู้บริโภคน้อยลง

พลวัตของ GDP ของประเทศไทยใน 10 ปีข้างหน้าและการคาดการณ์

GDP ของประเทศไทยประสบกับภาวะขึ้น ๆ ลง ๆ อย่างต่อเนื่องตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและเปราะบางของเศรษฐกิจ อัตราการเติบโตของ GDP ที่มั่นคงในช่วงระหว่างปี 2014 ถึง 2019 เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3-4% ต่อปี โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศที่สูง แต่เนื่องจากมีการพึ่งพาการท่องเที่ยวและการส่งออกเป็นอย่างมาก ทำให้ในปี 2020 การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้ GDP ลดลงอย่างรุนแรง

MDP-5096_4_EN.png

ในอนาคต นักวิเคราะห์คาดว่าการเติบโตของ GDP จะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นเป็นประมาณ 2.8% ในปี 2025 โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาล

ตามข้อมูลของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ คาดว่า GDP ของประเทศไทยจะเติบโตขึ้น 3-3.5% ต่อปีภายในปี 2030 ส่วนการคาดการณ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้นนั้นคาดว่าการเติบโตนี้จะบรรลุอัตราต่อปีที่ 3.3% หากการลงทุนในปัจจุบันด้านโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และการกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจยังคงประสบความสำเร็จ

อย่างไรก็ตาม IMF ได้ตั้งข้อสังเกตว่า หากไม่มีการเพิ่มผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญและไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างที่จำเป็นอย่างยิ่ง การเติบโตก็มีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ต่ำกว่า 2% ยิ่งไปกว่านั้น ความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับประชากรสูงอายุและจำนวนแรงงานที่ลดลงก็จะส่งผลให้การเติบโตลดลงอีกด้วย

นำความรู้ใหม่ของคุณไปปฏิบัติเพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม

สรุป

หากคุณเป็นเทรดเดอร์หรือนักลงทุน GDP และการเคลื่อนไหวในตลาดการเงินถือเป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องเข้าใจ GDP จะสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ มันเป็นตัวบ่งชี้ทั่วไปที่จะช่วยให้คุณเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค การลงทุนทางธุรกิจ รายจ่ายของรัฐบาล และพลวัตของการค้า แม้ว่าบางครั้ง บางครั้งสิ่งนี้อาจสัมพันธ์กับตัวบ่งชี้ตลาดเชิงบวก แต่ก็ควรคำนึงถึงข้อจำกัดและลักษณะการติดตามของข้อมูลนี้ GDP มีความสัมพันธ์กับดัชนีต่าง ๆ เช่น ดัชนี SET นี่เป็นการยืนยันว่านักลงทุนที่จริงจังจะต้องพิจารณาปัจจัยเศรษฐกิจทั่วไปบางส่วน

ในการตัดสินใจลงทุนเชิงกลยุทธ์และมีข้อมูลในตลาดโลกที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นนี้ สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักถึงแนวโน้มการเติบโตของ GDP และองค์ประกอบหลักของมันอย่างต่อเนื่อง

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ:

เปิดบัญชี FBS

โดยการลงทะเบียน คุณได้ยอมรับเงื่อนไขของ ข้อตกลงลูกค้า FBS และ นโยบายความเป็นส่วนตัว FBS และยอมรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขายในตลาดการเงินระดับโลก

FBS ณ สื่อสังคมออนไลน์

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon

ติดต่อเรา

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon
store iconstore icon
ดาวน์โหลดได้ที่
App Store
store iconstore icon
ดาวน์โหลดได้ที่
Google Play

การซื้อขาย

บริษัท

เกี่ยวกับ FBS

เอกสารทางกฎหมาย

ข่าวเกี่ยวกับบริษัท

สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้

ศูนย์ช่วยเหลือ

โปรแกรมพันธมิตร

เว็บไซต์นี้ดำเนินการโดย FBS Markets Inc. หมายเลขจดทะเบียน 000001317 ซึ่ง FBS Markets Inc. ได้รับการจดทะเบียนโดย Financial Services Commission ภายใต้พระราชบัญญัติอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ฯ 2021 (Securities Industry Act 2021) ใบอนุญาตเลขที่ 000102/31 ที่อยู่สำนักงาน: 9725, Fabers Road Extension, Unit 1, Belize City, Belize

โดย FBS Markets Inc. ไม่ได้ให้บริการทางการเงินแก่ผู้อยู่อาศัยในเขตอำนาจศาลบางแห่ง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง: สหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรป, สหราชอาณาจักร, อิสราเอล, สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน, เมียนมาร์

ธุรกรรมการชำระเงินได้รับการจัดการโดย HDC Technologies Ltd.; Registration No. HE 370778; Legal address: Arch. Makariou III & Vyronos, P. Lordos Center, Block B, Office 203, Limassol, Cyprus ที่อยู่เพิ่มเติม: Office 267, Irene Court, Corner Rigenas and 28th October street, Agia Triada, 3035, Limassol, Cyprus

เบอร์ติดต่อ: +357 22 010970 เบอร์ติดต่อเพิ่มเติม: +501 611 0594

สำหรับความร่วมมือ กรุณาติดต่อเราผ่าน [email protected]

คำเตือนเรื่องความเสี่ยง: ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการซื้อขาย คุณควรเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตลาดสกุลเงินและการซื้อขายโดยใช้มาร์จิ้นอย่างถ่องแท้ และคุณควรตระหนักถึงระดับประสบการณ์ของตนเอง

การคัดลอก การทำสำเนา การเผยแพร่ รวมถึงแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตของเนื้อหาใดๆ จากเว็บไซต์นี้สามารถดำเนินการได้เฉพาะเมื่อได้รับการอนุญาตที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน การชี้แนะ หรือการชักชวนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการลงทุนใด ๆ ทั้งสิ้น