FBS ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16

ปลดล็อกของรางวัลวันเกิด: ตั้งแต่แก็ดเจ็ตและรถในฝันไปจนถึงทริป VIPเรียนรู้เพิ่มเติม
เปิดบัญชี
เปิดบัญชีล็อกอิน
เปิดบัญชี

29 ส.ค. 2024

การจัดการความเสี่ยง

อัตรากำไรจากการดำเนินงาน: คำแนะนำในการควบคุมต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

MDP-4454_1_cover_EN.png

บทนำ

การจัดการอัตรากำไรจากการดำเนินงานถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างมากในการบริหารจัดการทางการเงินอย่างยั่งยืนในธุรกิจ อัตรากำไรจากการดำเนินงานจะสะท้อนถึงกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี บทความนี้จะเจาะลึกถึงแนวคิดเรื่องอัตรากำไรจากการดำเนินงาน ความสำคัญ กระบวนการคำนวณ การตีความความ และการพัฒนากลยุทธ์ แถมยังนำเสนอตัวอย่างการใช้งานให้ด้วย

อัตรากำไรจากการดำเนินงานคืออะไร?

อัตรากำไรจากการดำเนินงานถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานทางการเงินที่สำคัญมากที่บริษัทสามารถใช้เพื่อกำหนดผลกำไรของธุรกิจหลักของตน มันเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ที่เหลืออยู่หลังหักค่าใช้จ่ายในการผลิตบางส่วนแล้ว เช่น ค่าจ้างและวัตถุดิบ แต่ก่อนหักภาษี ดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ มันแสดงให้เห็นว่าบริษัทสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายดำเนินงานและรายได้ได้ดีเพียงใด

ประเด็นสำคัญ:

  • อัตรากำไรจากการดำเนินงานบ่งบอกถึงผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากการดำเนินงาน

  • คำนวณโดยการหารรายได้จากการดำเนินงาน (รายได้ลบต้นทุนการดำเนินงาน) ด้วยรายได้รวม แล้วนำมาคูณด้วย 100

  • อัตรากำไรจากการดำเนินงานที่สูงขึ้นอาจแสดงให้เห็นว่าบริษัทประสบความสำเร็จมากขึ้นในการสร้างผลกำไรจากกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท

  • อัตรากำไรจากการดำเนินงานเป็นตัวชี้วัดที่ดีในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

  • บริษัทที่มีอัตรากำไรจากการดำเนินงานสูง ๆ จะสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ดีกว่า นำกำไรไปลงทุนใหม่ และผ่านพ้นภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำได้

ความสำคัญของอัตรากำไรจากการดำเนินงาน:

ความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนและเพิ่มยอดขายให้สูงที่สุดนั้นจะพิจารณาจากอัตรากำไรจากการดำเนินงาน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ผลทางการเงินของแต่ละธุรกิจ นักลงทุน นักวิเคราะห์ และผู้ถือหุ้นต่างจับตามองตัวชี้วัดนี้อย่างใกล้ชิดเพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานของบริษัท และพิจารณาว่าบริษัทจะสามารถสร้างผลกำไรต่อไปได้หรือไม่

โดยทั่วไปแล้ว อัตรากำไรจากการดำเนินงานไม่ใช่เพียงแค่ตัวเลขที่คำนวณกำไรที่สร้างได้โดยองค์กรเท่านั้น แต่ยังให้การวิเคราะห์ว่ารายได้สามารถโอนไปยังกำไรจากการดำเนินธุรกิจได้ดีเพียงใด ดังนั้นเกณฑ์นี้จึงมีความสำคัญในการพัฒนากลยุทธ์ การวางแผนทางการเงิน และการประเมินผลการดำเนินงานของแต่ละองค์กร

ความสำคัญของอัตรากำไรจากการดำเนินงาน:

อัตรากำไรจากการดำเนินงานมีบทบาทสำคัญในการประเมินผลการดำเนินงานทางการเงินและประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัท เหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้อัตรากำไรจากการดำเนินงานมีความสำคัญมีดังนี้

เกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพ

อัตรากำไรจากการดำเนินงานถือเป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญในการสำรวจผลกำไรของบริษัทภายในภาคส่วนของตน การประเมินผลกำไรจากการดำเนินงานของธุรกิจที่คล้ายคลึงกันจะช่วยให้ผู้ถือหุ้นสามารถพิจารณาได้ว่าบริษัทใดมีประสิทธิภาพมากกว่าในการสร้างผลกำไรจากธุรกิจของตน ตัวบ่งชี้ประเภทนี้สามารถเชื่อมช่องว่างระหว่างผู้นำในอุตสาหกรรมและบุคคลภายนอกได้ ส่งผลให้มีความเข้าใจสถานะการแข่งขันและประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ดียิ่งขึ้น

สุขภาพทางการเงิน

อัตรากำไรจากการดำเนินงานของบริษัทจะแสดงให้เห็นภาพที่ชัดเจนถึงความสามารถในการควบคุมค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับรายได้ อัตรากำไรจากการดำเนินงานที่สูงขึ้นจะบ่งชี้ถึงโอกาสในการอยู่รอดและเติบโตที่สูงขึ้นในช่วงเวลาที่มีความปั่นป่วน เช่น ในช่วงวิกฤตการเงิน ในทางกลับกัน อัตรากำไรจากการดำเนินงานที่ต่ำหรือลดลงอาจบ่งชี้ว่ามีการบริหารจัดการต้นทุนหรือกลยุทธ์การกำหนดราคาที่ไม่ดี ซึ่งจำเป็นต้องมีการแทรกแซงของฝ่ายบริหารเพื่อแก้ไขประสิทธิภาพทางการเงิน

ความเชื่อมั่นของนักลงทุน

นักลงทุนและผู้ถือหุ้นจะมองว่าอัตรากำไรจากการดำเนินงานเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของสุขภาพและความมั่นคงทางการเงินของบริษัท มันแสดงให้เห็นทั้งความสามารถในการทำกำไรและความเชื่อมั่นในการดำเนินงาน ซึ่งหมายถึงความสามารถในการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนโดยฝ่ายบริหาร ตัวชี้วัดนี้มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและการตัดสินใจลงทุน เนื่องจากอัตรากำไรจากการดำเนินงานที่สูงขึ้นมักเกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้นและความเสี่ยงที่ต่ำลง

การคำนวณกำไรจากการดำเนินงาน

สูตรคำนวณอัตรากำไรจากการดำเนินงาน:

สูตรคำนวณอัตรากำไรจากการดำเนินงาน

สูตรอัตรากำไรจากการดำเนินงานจะช่วยในการคำนวณกำไรของบริษัทจากธุรกิจหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพ มันจะช่วยให้นักลงทุนสามารถคำนวณกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทได้ด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการคำนวณมีดังนี้:

  1. ลบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานออกจากรายได้รวม ตัวอย่าง: หากรายได้คือ 1,000,000 ดอลลาร์ และค่าใช้จ่ายคือ 700,000 ดอลลาร์ รายได้จากการดำเนินงาน = 1,000,000 ดอลลาร์ - 700,000 ดอลลาร์ = 300,000 ดอลลาร์

  2. หารรายได้จากการดำเนินงานด้วยรายรับ จากนั้นคูณด้วย 100 เพื่อเปลี่ยนเป็นเปอร์เซ็นต์ ตัวอย่าง: อัตรากำไรจากการดำเนินงาน = (300,000 ดอลลาร์ / 1,000,000 ดอลลาร์) × 100 = 30%

การตีความอัตรากำไรจากการดำเนินงาน

ปกติแล้วอัตรากำไรจากการดำเนินงานจะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าอัตรากำไรจากการดำเนินงานขององค์กรอยู่ที่ 30% นั่นหมายความว่าหลังจากหักค่าใช้จ่ายที่ผันผวนแล้ว กำไรจากการดำเนินงานจะเหลือเพียง 30 เซ็นต์ จากทุก ๆ 1 ดอลลาร์ ที่ธุรกิจได้รับ

มาตรวัดนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญหลายประการ:

  • ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเปรียบเทียบบริษัทต่าง ๆ ภายในอุตสาหกรรม หรือประวัติการดำเนินงานของบริษัท เพื่อทำความเข้าใจประสิทธิภาพและผลผลิตที่สัมพันธ์กันของบริษัท

  • โดยทั่วไปแล้ว อัตรากำไรจากการดำเนินงานที่สูงขึ้นจะบ่งชี้ถึงผลกำไรที่สูงขึ้น และการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ดีขึ้น

  • การทำความเข้าใจอัตรากำไรจากการดำเนินงานจะช่วยในการตัดสินใจวางแผน เช่น กลยุทธ์การกำหนดราคา การบริหารต้นทุน และการลำดับความสำคัญของการลงทุน

ดังที่เราเห็น การตีความอัตรากำไรจากการดำเนินงานจะให้ข้อมูลสำคัญว่าบริษัทมีความแข็งแกร่งในด้านการเงินเพียงใด และการดำเนินงานมีประสิทธิภาพเพียงใด

กลยุทธ์ในการปรับปรุงอัตรากำไรจากการดำเนินงาน

มีหลายวิธีที่บริษัทต่าง ๆ สามารถปรับปรุงอัตรากำไรจากการดำเนินงานได้:

  • การควบคุมต้นทุนจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรได้รับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

  • การเติบโตของรายได้ผ่านการเพิ่มยอดขายหรือปรับกลยุทธ์ด้านราคา

  • ลดของเสียและทำให้กระบวนการมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานมากขึ้น

  • การปรับปรุงผลงานของพนักงานและเพิ่มผลงานของพวกเขา

กรณีศึกษาและตัวอย่าง

เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของอัตรากำไรจากการดำเนินงาน โปรดพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้:

1. บริษัท X:

บริษัท X เผชิญกับความท้าทายของความสามารถในการทำกำไร โดยมีอัตรากำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 15%

  • กลยุทธ์: นำมาตรการลดต้นทุนเชิงรุกมาใช้ในทุกกระบวนการดำเนินงาน

  • ผลลัพธ์: บริษัท X ประสบความสำเร็จในการเพิ่มอัตรากำไรจากการดำเนินงานเป็น 20% ภายในเวลาหนึ่งปี การปรับปรุงนี้ได้เน้นย้ำถึงประสิทธิผลของการจัดการต้นทุนในการเพิ่มผลกำไรโดยไม่ทำให้รายได้เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

2. บริษัท Y:

บริษัท Y ได้ดำเนินงานด้วยอัตรากำไรจากการดำเนินงานในระดับปานกลางและพยายามที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพ

  • กลยุทธ์: ได้มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงกระบวนการผลิตและลดของเสีย

  • ผลลัพธ์: แม้ว่ารายได้จะเติบโตเพียงเล็กน้อย แต่บริษัท Y กลับมีอัตรากำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ด้วยการปรับปรุงกระบวนการทำงานและเพิ่มผลผลิต บริษัทจึงได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเพิ่มผลกำไรผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

ตัวอย่างง่าย ๆ นี้แสดงให้เห็นว่าความคิดริเริ่มเชิงกลยุทธ์ในการบริหารจัดการต้นทุน ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และผลผลิต สามารถส่งผลต่ออัตรากำไรจากการดำเนินงานได้อย่างมีนัยสำคัญอย่างไร มันแสดงให้เห็นขั้นตอนจริงที่บริษัทต่าง ๆ สามารถใช้เพื่อเสริมอำนาจทางการเงินและบรรลุการเติบโตอย่างยั่งยืนเมื่อเผชิญกับการแข่งขัน

สรุป

องค์กรใดก็ตามที่ต้องการให้มีกำไรและเติบโตอย่างต่อเนื่องจะต้องรู้เรื่องอัตรากำไรจากการดำเนินงาน เมื่อใดก็ตามที่บริษัทคำนวณและดำเนินการปรับปรุงอัตรากำไรจากการดำเนินงาน บริษัทจะสามารถทำการตัดสินใจที่จะนำไปสู่ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าผลการดำเนินงานทางการเงินที่ดี และเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อบริษัท

คำถามที่พบบ่อย

อัตรากำไรจากการดำเนินงานเท่าใดจึงจะถือว่าดี? อัตรากำไรจากการดำเนินงานที่ยอมรับได้นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรม แต่โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ระหว่าง 10% ถึง 20% มันแสดงให้เห็นว่าองค์กรสามารถควบคุมต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับยอดขายได้อย่างเหมาะสมเพียงใด

อัตรากำไรจากการดำเนินงาน 30% หมายความว่าอย่างไร? บริษัทมีอัตรากำไรจากการดำเนินงาน 30% หมายความว่าบริษัทมีกำไร 30 เซ็นต์จากรายได้ทุก ๆ 1 ดอลลาร์ ที่บริษัททำได้

ฉันจะคำนวณอัตรากำไรจากการดำเนินงานได้อย่างไร? สูตรคำนวณอัตรากำไรจากการดำเนินงานคือให้หารรายได้จากการดำเนินงานด้วยรายได้ แล้วคูณด้วย 100 สูตรการคำนวณอัตรากำไรจากการดำเนินงาน: อัตรากำไรจากการดำเนินงาน = (รายได้จากการดำเนินงาน/รายรับ) x 100

อัตรากำไรจากการดำเนินงาน 5% นั้นถือว่าดีไหม? อัตรากำไรจากการดำเนินงาน 5% อาจถือว่าเป็นที่ยอมรับได้ในบางอุตสาหกรรม แต่ก็อาจบ่งชี้ว่าควรปรับปรุงได้เช่นกัน การประเมินบรรทัดฐานของอุตสาหกรรมถือเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ทราบได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าคุณอยู่ในตำแหน่งใดเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ:

เปิดบัญชี FBS

โดยการลงทะเบียน คุณได้ยอมรับเงื่อนไขของ ข้อตกลงลูกค้า FBS และ นโยบายความเป็นส่วนตัว FBS และยอมรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขายในตลาดการเงินระดับโลก

FBS ณ สื่อสังคมออนไลน์

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon

ติดต่อเรา

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon
store iconstore icon
ดาวน์โหลดได้ที่
App Store
store iconstore icon
ดาวน์โหลดได้ที่
Google Play

การซื้อขาย

บริษัท

เกี่ยวกับ FBS

เอกสารทางกฎหมาย

ข่าวเกี่ยวกับบริษัท

สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้

ศูนย์ช่วยเหลือ

โปรแกรมพันธมิตร

เว็บไซต์นี้ดำเนินการโดย FBS Markets Inc. หมายเลขจดทะเบียน 000001317 ซึ่ง FBS Markets Inc. ได้รับการจดทะเบียนโดย Financial Services Commission ภายใต้พระราชบัญญัติอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ฯ 2021 (Securities Industry Act 2021) ใบอนุญาตเลขที่ 000102/31 ที่อยู่สำนักงาน: 9725, Fabers Road Extension, Unit 1, Belize City, Belize

โดย FBS Markets Inc. ไม่ได้ให้บริการทางการเงินแก่ผู้อยู่อาศัยในเขตอำนาจศาลบางแห่ง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง: สหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรป, สหราชอาณาจักร, อิสราเอล, สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน, เมียนมาร์

ธุรกรรมการชำระเงินได้รับการจัดการโดย HDC Technologies Ltd.; Registration No. HE 370778; Legal address: Arch. Makariou III & Vyronos, P. Lordos Center, Block B, Office 203, Limassol, Cyprus ที่อยู่เพิ่มเติม: Office 267, Irene Court, Corner Rigenas and 28th October street, Agia Triada, 3035, Limassol, Cyprus

เบอร์ติดต่อ: +357 22 010970 เบอร์ติดต่อเพิ่มเติม: +501 611 0594

สำหรับความร่วมมือ กรุณาติดต่อเราผ่าน [email protected]

คำเตือนเรื่องความเสี่ยง: ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการซื้อขาย คุณควรเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตลาดสกุลเงินและการซื้อขายโดยใช้มาร์จิ้นอย่างถ่องแท้ และคุณควรตระหนักถึงระดับประสบการณ์ของตนเอง

การคัดลอก การทำสำเนา การเผยแพร่ รวมถึงแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตของเนื้อหาใดๆ จากเว็บไซต์นี้สามารถดำเนินการได้เฉพาะเมื่อได้รับการอนุญาตที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน การชี้แนะ หรือการชักชวนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการลงทุนใด ๆ ทั้งสิ้น